1/1
<<
1
>>
Topic : สอบถามเกี่ยวกับอาการหลังผ่าตัดมะเร็งปอดหน่อยครับ ?
เข้าชม:3862
ตั้งคำถามโดย :
project-y
IP : 171.5.246.XXX
คุณพ่อผมเพิ่งผ่าตัดมะเร็งปอด โดยผ่าปอดออกไปข้างหนึ่งน่ะครับ
หลังการผ่าตัดปรากฏว่าคุณพ่อมีอาการเสียงแหบ/ไอ/สำลักเวลากลืน หมอแจ้งว่าน่าจะเป็นเพราะเส้นประสาทตัวหนึ่งเสียหายจากการผ่าตัดทำให้การทำงานของกระบังลมมีปัญหา และบอกอีกว่ามันอาจจะเป็นอย่างถาวรหรืออาจจะหายเองก็ได้ ตอนนี้พ่อผมกลับมาอยู่บ้านเกือบครบหนึ่งอาทิตย์แล้วแต่ยังไม่มีวี่แววว่าอาการเหล่านี้จะหาย
1. ผมอยากรู้ว่าอาการที่ว่ามันมีโอกาสที่จะหายจริงๆ รึเปล่าครับ และถ้าสมมติพ่อผมต้องอยู่ในสภาพนี้ต่อไป มันจะมีผลร้ายหรือมีผลกระทบอะไรที่อันตรายมั้ยครับ (ตอนนี้ที่กังวลหลักๆ คือกลัวร่างกายพ่อจะไม่แข็งแรงพอรับการทำคีโมน่ะครับ แล้วก็มีกลัวว่าระดับอ็อกซิเจนจะต่ำกว่าปกติ)
2. อยากขอคำแนะนำเรื่องอาหารหน่อยครับ
เพิ่มเติม จากการเอ็กซเรย์หลังผ่าไม่พบเซลล์มะเร็งลุกลามครับ
ขอบคุณมากครับ

ขอถามเพิ่มอีกอย่างนะครับ ระหว่างพักฟื้นอยู่ใน รพ. มีวันหนึ่งที่พ่อไอหนักจนอ็อกซิเจนในร่างกายต่ำกว่าปกติ อาการพวกนี้จะส่งผลกระทบที่ทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มรึเปล่าครับ
[
ขึ้นบน ]
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปอด ส่วนใหญ่มักมีปัญหา กลืนลำบาก ไอ มีเสมหะเหนียว หายใจลำบาก แสบร้อน เป็นต้น คงต้องเรียนตามตรงว่า กรณีที่เส้นประสาทถูกทำลายไปแล้ว คงกลับมาดีเหมือนเดิมไม่ได้ แต่อาจจะฟื้นฟูมาได้ขึ้นอยู่ักับความพยายามของผู้ป่วยและผู้ดูแลแล้วล่ะค่ะ
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดปอดใหม่ๆ
• จัดให้นอนศีรษะสูง เพื่อช่วยให้การหายใจสะดวก
• ท่านอนหลังผ่าตัดปอดข้างใดข้างหนึ่ง ควรนอนตะแคงทับแผลข้างที่ทำการผ่าตัด เพื่อช่วยให้ปอดข้างที่ดีได้มีการขยายตัวเต็มที่
• กระตุ้นให้มีการหายใจลึกๆ ทุกชั่วโมง กระตุ้นให้ไอขับเสมหะออกให้หมดทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเสมหะ และจิบน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้ขับเสมหะออกได้ดีขึ้น
• การฝึกการหายใจ แต่ไม่ควรเร่งทำเร็วหรือฝึกหักโหมเกินไป ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะผู้ป่วยทำการผ่าตัดผูกเส้นเลือด อาจจะมีการหลุดของส่วนที่ผูก แต่หากแพทย์อนุญาตให้ฝึกได้แล้ว ควรฝึกให้ผู้ป่วยหายใจโดยการเป่าลมใส่ขวด หรือหายใจลึกๆ จะช่วยทำให้ปอดที่เหลือแข็งแรง และทำงานได้ดีเร็วขึ้น ส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ 2-3 ควรฝึกการหายใจลึกๆ และการบริหารปอด
[
ขึ้นบน ]

ต่อ...
ถามว่าอาการที่เกิดขึ้นอันตรายมั้ย?? อาการเสียงแหบคงไม่มีปัญหา ก็แค่เสียงแหบค่ะ แต่อาการที่จะกระทบสุขภาพ คือ อาการไอและสำลัก อย่างที่คณก็เห็นแล้วว่า ไอหนักจนออกซิเจนต่ำ อย่าไปคิดว่ามะเร็งจะเพิ่มเท่าไรเลยค่ะ เราคิดถึงปัญหาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ถดถอยลงก่อนดีกว่า อาการแบบนี้ทำให้ผู้ป่วยพักผ่อนไม่เพียงพอ กินอะไรก็ลำบาก หายใจไม่สะดวก ก็คงต้องอาศัยการจิบน้ำอุ่นตลอด และดูแลเรื่องขับเสมหะให้ดี อย่าให้ขวางหลอดลมเดี่ยวสำลักง่าย การกินหรือดื่มอะไรต้องช้าๆ ทีละน้อยๆ เคี้ยวหรือกลืนอย่างใจเย็น อย่ารีบ
[
ขึ้นบน ]
การรับประทานอาหาร
หลังผ่าตัดใหม่ๆ ความอยากอาหารลดลงอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องปกติ ขอให้ระลึกเสมอว่าร่างกายผู้ป่วยต้องการสารอาหาร เพื่อฟื้นฟูร่างกายในช่วงนี้ ดังนั้นจึงต้อง
พยายามรับประทานอาหารที่สารอาหารครบถ้วน รวมทั้งควรติดตามดูน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ แม้เบื่อก็ต้องฝืนกินเรื่อยๆ จะว่างั้นก็ได้ค่ะ
หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนเพิ่มเพื่อช่วยซ่อมแซมร่างกาย แต่ก็ควรรับประทานคาร์โบไโฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลัก เพราะหากร่างกายได้รับพลังงานจากแหล่งคาร์โบไฮเดรตไม่สมดุล จะทำให้ตับทำงานหนักขึ้นเพราะต้องไปย่อยสลายและนำกรดอะมิโนจากโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกายแทนหมู่คาร์โบไฮเดรต
ในบางกรณีหากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ครบถ้วนตามมื้ออาหารที่จัดให้ หรือจากการคำนวณพบว่าพลังงานที่ได้รับต่อวันต่ำเกินไป ควรต้องเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ที่มีสูตรโปรตีนสูงร่วมด้วย
[
ขึ้นบน ]