ผลข้างเคียงจากฉายรังสี มีเฉพาะบริเวณที่โดนรังสีเท่านั้น การมีอาการทางระบบขับถ่ายแสดงว่าเป็นการฉายรังสีบริเวณช่องท้อง การดูแลเมื่อมีอาการท้องเสีย
• ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนที่มีกากน้อย โปรตีนและแคลอรีสูง งดอาหารที่ระคายเคืองหรือกระตุ้นทางเดินอาหาร ได้แก่ อาหารทอด อาหารมัน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง (ยกเว้นน้ำองุ่น, น้ำแอปเปิ้ล) ผักดิบ เครื่องเทศ อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส (อาทิ หัวหอม กะหล่ำปลี ถั่ว) อาหารที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ งดนม และผลิตภัณฑ์จากนม • ดูแลผิวหนังบริเวณทวารหนักไม่ให้เป็นแผล โดยทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่น สบู่อ่อนๆ ล้างแล้วซับให้แห้งทุกครั้งหลังถ่าย • ให้ดื่มน้ำทดแทน ได้แก่ น้ำซุป น้ำองุ่น น้ำชาจางๆ หรืออาจผสมน้ำเกลือแร่เพื่อใช้เองที่บ้าน โดยใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวดแม่โขง (750 ซีซี) ในเกลือแกง 1/2 ช้อนชาและน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ผสมไว้ดื่มภายใน 24 ชั่วโมง • ผู้ป่วยสามารถรับประทานข้าวได้ตามปกติ แต่อาจเปลี่ยนมารับประทานข้าวขาวแทนข้าวกล้องเพื่อลดปริมาณใยอาหาร เนื่องจากใยอาหารจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้ แต่ในภาวะที่ท้องเสียร่างกายไม่ต้องการให้ลำไส้เคลื่อนตัวมากจนเกินไป ดังนั้นจึงเว้นอาหารประเภทเส้นใยสูงไว้ชั่วระยะหนึ่ง ในส่วนของก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง (ไม่ใช้ขนมปังโฮลวีท) สามารถเลือกรับประทานได้ตามปกติ • เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถรับประทานได้ แต่หลีกเลี่ยงการนำมาปรุงอาหารรสจัดเกินไป เช่น ยำ ต้มยำ เพราะกรดซิตริกหรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวและมีความเผ็ด ก็สามารถกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ได้ • ควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้สดที่ยังไม่ผ่านความร้อน และก่อนการนำมาปรุงประกอบอาหารควรล้างผักให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสผักสดด้วยมือเปล่า ผลไม้ที่มีเปลือกหนาเวลาบริโภคเนื้อส่วนที่บริโภคไม่ควรสัมผัสโดยตรงกับมือผู้ปรุงอาหาร อาทิ ส้มโอ แตงโม • น้ำผลไม้ทุกชนิดควรงดเว้นโดยเฉพาะน้ำลูกพรุน เพราะจะทำให้ถ่ายท้องมากยิ่งขึ้น หากจะรับประทานน้ำผลไม้ควรเป็นน้ำที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้ว และไม่แนะนำให้รับประทานในช่วงที่อาการท้องเสียยังไม่ทุเลา • ถ้าท้องเสียมากโดยไม่เคยเป็นมาก่อนและมีไข้ร่วมด้วย เพ้อ พูดไม่รู้เรื่อง ซึม ให้รีบพบแพทย์
ด้วยความยินดี และขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ