ปวดแผล ผื่นพุพอง ระวัง! โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน...ที่อาจอันตรายถึงชีวิต

วันที่ 13-11-2019 | อ่าน : 3428


     ในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและความชื้น มีส่วนทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรีย Necrotizing Fasciitis หรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน โรคแบคทีเรียกินเนื้อหรือโรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis) เป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงที่ผิวหนัง กระจายไปยังชั้น subcutaneous tissue ได้แก่ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นไขมันใต้ผิวหนัง เนื้อเยื่อพังผืด รวมถึงกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำให้เกิดการตายของผิวหนังและเนื้อเยื่อ และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ รวมถึงเข้ากระแสเลือดจนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

เจ็บแน่นหน้าอกแบบไหน คือสัญญาณเตือน “หลอดเลือดหัวใจตีบ”
     อาการที่พบได้จากโรคนี้ คือ เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายอาจร้าวขึ้นไปตามคอ อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อออกแรง แต่เมื่อนั่งพักจะดีขึ้น ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หากนำส่งโรงพยาบาลไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

     ในคนไข้บางคน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน อาจจะไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่จะมีอาการหัวใจวาย เช่น เหนื่อยหอบง่าย บางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจหยุดเต้นก็เป็นได้

แบคทีเรียเข้าไปกัดกินเนื้อคนได้อย่างไร?
     โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน เกิดจากสาเหตุการเดินเท้าเปล่า ลุยโคลน โดนเปลือกหอย หรือเศษไม้ตำเท้า เศษแก้วบาด โดยเชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางผิวหนังหรือกระแสเลือดผ่านทางแผลที่ถูกบาด แผลถลอก รอยข่วน แมลงกัดต่อย บาดแผลไฟไหม้ การใช้เข็มฉีดยา หรือแผลผ่าตัด หากไม่ได้ดูแลรักษาแผลให้ดี อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

อาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน

  • ผู้ป่วยจะมีอาการร้อนบริเวณผิวหนัง ผิวหนังบริเวณรอบ ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง เกิดการบวมอย่างรวดเร็ว
  • รู้สึกปวดบาดแผลมากกว่าปกติ โดยอาการปวดไม่สัมพันธ์กับขนาดแผลที่เกิดขึ้น
  • ปวดแขน/ขา ตึงบริเวณกล้ามเนื้อ
  • มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีเหงื่อออก อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ หรือท้องเสีย เป็นต้น
  • เกิดภาวะขาดน้ำ โดยมีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย
  • หากมีไข้สูง มีอาการปวด และกดเจ็บบริเวณแผล มีผื่นพุพอง และผิวหนังบริเวณที่เกิดโรคจะมีม่วงคล้ำ หรือถุงน้ำอย่างรวดเร็ว จะต้องรีบให้การรักษาทันที เพราะอาจทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นนั่นเอง ตำแหน่งของโรคมักเกิดที่ขา เท้า หากลุกลามมากขึ้นจะเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจติดเชื้อในกระแสเลือด หรือไตวายได้

กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน

  • พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เกษตรกรดำนาไม่สวมใส่รองเท้า มีบาดแผลตามร่างกายและได้รับสิ่งสกปรกเข้าไป
  • กลุ่มผู้ที่ใช้ยา Steroid
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคผิวหนัง อาจเกิดหลังจากป่วยเป็นโรคไข้สุกใส
  • กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น ติดสุรา ติดยาเสพติด โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค เป็นต้น
  • กลุ่มผู้ที่มีบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ แล้วไม่มีการทำความสะอาดดูแลแผลให้ดี หรือไม่ถูกต้องจนการติดเชื้อลุกลาม

รู้หรือไม่ เชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในร่างกายเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต !!
     ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อและหลอดเลือดถูกทำลาย ถึงขั้นตัดอวัยวะทิ้ง หากอวัยวะในร่างกายไม่ตอบสนองก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่รอดชีวิตอาจมีแผลเป็นหรืออาจมีโอกาสพิการแขนขาได้เช่นกัน

หยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่ายๆ แค่รักษาให้ตรงจุด

  • ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยโดยด่วน และทำการรักษาทันที เพื่อตรวจสอบอาการ และผ่าตัดเอาเนื้อที่ติดเชื้อออกให้มากที่สุด เพื่อเอาหนองและตัดเนื้อเยื่อที่ตายออก หากติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะนั้นออก
  • ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะหลายชนิดร่วมกันทางหลอดเลือดดำ และยาควบคุมความดันโลหิต รวมทั้งสารภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือตายออก เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ อาจต้องตัดแขนหรือขาหากเชื้อลุกลามขั้นรุนแรง
  • ให้ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกรณีเชื้อลุกลามเข้ากระแสเลือดจนเกิดภาวะ SHOCK
  • ให้ผู้ป่วยสูดออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% เพื่อช่วยรักษาเนื้อเยื่อที่ปกติ
  • ถ่ายเลือดให้ผู้ป่วย ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้
  • หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู ซึ่งอาจใช้เวลารักษาตัวนานหลายสัปดาห์ และอาจต้องแยกห้องรักษากับผู้ป่วยอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ และหลังการรักษา ผู้ป่วยบางรายที่ต้องตัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกไปปริมาณมากหรือต้องตัดแขนขา อาจต้องผ่าตัดเพื่อตกแต่งบาดแผล และผู้ป่วยที่พิการจะต้องทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทให้กลับมาทำงานใกล้เคียงปกติมากที่สุด

รู้ก่อน ..ป้องกันได้

  • เกษตรกรที่ดำนา หากมีแผลตามร่างกาย ไม่ควรลุยโคลนด้วยเท้าเปล่า ควรดูแลบาดแผลให้สะอาดถูกสุขอนามัย และใส่ยาปฏิชีวนะรักษาแผลตามความเหมาะสม
  • เมื่อมีแผล ต้องทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดทันที ซับด้วยผ้าสะอาด
  • ทำความสะอาดแผลทุกวัน และใช้อุปกรณ์ทำแผลที่สะอาด
  • เลี่ยงการใช้สระน้ำ และอ่างอาบน้ำร่วมกัน
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที เพื่อตรวจรักษาอาการต่อไป
  • หากมีไข้ ปวด บวม แดง แสบร้อน บริเวณที่เป็นแผล ควรรีบพบแพทย์ทันที

     โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน เป็นโรคที่พบไม่บ่อยนัก หากคุณหรือคนใกล้ตัวที่คุณรัก เป็นคนแข็งแรง มีภูมิต้านทานปกติ และมีวิธีดูแลแผลอย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสน้อยที่จะเป็นโรคนี้ แต่หากมีภาวะความเสี่ยงจะเป็นขั้นรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และกล้ามเนื้อในร่างกาย อาจเกิดอันตรายถึงกับชีวิตหากรักษาไม่ทันหรือเกิดความพิการตามมาได้ ร่วมกันดูแลและป้องกัน อย่ารอให้โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน เข้ามาทำร้ายคุณ และคนที่คุณรัก

 

ข้อมูลจาก พญ.มลเนตร คุณติรานนท์ คลินิกผิวหนัง โรงพยาบาลพญาไท 2

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้