มะเร็งปากมดลูกมีกี่สายพันธุ์

วันที่ 12-03-2021 | อ่าน : 1354


     มะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่เกิดจาก เชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาได้ การดูแลตัวเองและป้องกันจึงเป็นวิธีที่ทำให้เราห่างไกลจากภัยร้ายนี้ได้ดีที่สุด

มาทำความรู้จักกับ สายพันธุ์ต่างๆ ของเชื้อไวรัส HPV
     สายพันธุ์ต่างๆ ของเชื้อไวรัสนี้ มีชื่อเป็นหมายเลข ซึ่งแบ่งลำดับความเสี่ยง ดังนี้

  • HPV High Risk Type คือ 16 ,18 , 31 , 33 , 35 , 39 , 45 , 51 , 52 , 56 , 58 , 59 , 66 , 68 เชื้อไวรัสลำดับความเสี่ยงสูงนี้จะทำให้เกิดมะเร็งช่องคลอด , มะเร็งอวัยวะเพศชาย , มะเร็งทวารหนัก , มะเร็งช่องปาก และมะเร็งลำคอ
  • HPV Low Risk Type คือ 6 , 11 ซึ่งเชื้อไวรัสที่ลำดับความเสี่ยงต่ำนี้ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศได้

ห่างไกล HPV ได้ด้วยวัคซีน
          ที่ผ่านมาวัคซีนที่ป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้น มีสำหรับ สี่สายพันธุ์ ได้แก่ 6 , 11 , 16 , 18 แต่ในปัจจุบันที่วิทยาการทางการแพทย์พัฒนามากขึ้น เราได้มีวัคซีนที่ป้องกันได้มากถึง 9 สายพันธุ์ คือ 6 , 11 , 16 , 18 , 31 , 33 , 45 , 52 และ 58 ซึ่งครอบคลุมสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส HPV ที่สามารถรับการฉีดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์นี้ก็มีขั้นตอนไม่ต่างจาก วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 2 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์เลย รวมถึงผลข้างเคียง

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด

  • ช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป ถึง 45 ปี ต้องฉีด 3 เข็ม โดยมีระยะห่างจากเข็มแรก 2 และ 6 เดือน
  • ช่วงก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือช่วงอายุ 9 - 15 ปี ฉีด 2 เข็ม ระยะห่าง 9 - 12 เดือน

ความพิเศษของวัคซีนมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธ์ุนั้น
     1. สามารถมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ถึง 90%
     2. นอกจากนี้ยังป้องกันมะเร็งปากช่องคลอด ทราวหนัก ช่องปาก ลำคอ รวมไปถึงหูดหงอนไก่
     3. เป็นมะเร็งชนิดเดียวที่มีวัคซีนป้องกัน
     4. ไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้น เพียงฉีดให้ครบคอร์สตามจำนวนเข็มที่กำหนดก็สามารถป้องกันได้ตลอด

     ผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์  นั้นไม่แตกต่างจากวัคซีนตัวก่อนๆ เลย หาผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ใช่กลุ่มผู้แพ้ยีสต์รุนแรง มักมีอาการ บวม แดง ปวด บริเวณที่ได้รับวัคซีน ปวดศีรษะ หรือมีไข้ ซึ่งสามารถหายได้เอง

 


ที่มา : พญ.ธิติมา เหล่าศิริรัตน์ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้