การตรวจการได้ยิน

วันที่ 15-07-2019 | อ่าน : 1519


คุณมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ??
- ไม่ค่อยเข้าใจคำพูดเวลาคนพูดคุยกัน
- ต้องเปิด TV หรือ วิทยุหรือเพลงเสียงดัง
- ต้องถามซ้ำ เช่น ฮะ อะไรนะ ? / พูดอีกครั้งได้ไหม ?
- ฟังโทรศัพท์ไม่ค่อยได้ยิน
- ได้ยินเสียงดังวี๊ดๆในหู
- ต้องพูดเสียงดังขึ้น
- ฟังลำบากเมื่ออยู่ในที่จอแจ
- ฟังเสียงสูงๆไม่ค่อยชัด เช่น เสียงเด็ด เสียงผู้หญิง

หากคุณมีปัญหาดังกล่าว เป็นไปได้ว่าอาจมีปัญหาด้านการได้ยิน

การตรวจการได้ยินคืออะไร ?
     การตรวจระดับการได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหู และระบบโสตประสาทเพื่อหาระดับการได้ยิน โดยปกติจะทำการทดสอบหาระดับการได้ยินผ่านสองทาง คือ การนำเสียงผ่านอากาศ และการนำเสียงผ่านกระดูก โดยตรวจในห้องเก็บเสียงโดยเฉพาะ
• การนำเสียงผ่านอากาศจะทดสอบโดยการครอบหูฟัง
• การนำเสียงผ่านกระดูกจะทดสอบโดยการวางตัวปล่อยเสียงที่กระดูกกกหู

อาการที่ควรได้รับการตรวจการได้ยิน
- หูอื้อ
- มีเสียงดังในหู
- เวียนศีรษะ/ เวียนศีรษะบ้านหมุน
- การได้ยินลดลง
- ปวดหู
- มีน้ำไหลจากหู
- ฟังเสียงพูดไม่ค่อยชัด
- ทำงานสัมผัสเสียงดัง

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ
- Audiometer  : ตรวจหาพยาธิสภาของระบบการได้ยิน
- Tympanometer : ตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง
- Otoacoustic emissions (OAEs) : ตรวจวัดเสียงสะท้อนกลับจากเซลล์ขนในหูชั้นใน มักตรวจ screen ในทารกแรกเกิด

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน
- การนำเสียงบกพร่อง : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นกลาง
- เส้นประสาทการรับฟังเสียงบกพร่อง : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นใน
- การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นกลางร่วมกับหูชั้นใน

ทดสอบกันไหมการได้ยินคุณอยู่ระดับไหน
ระดับการได้ยิน                     ระดับความสามารถในการได้ยิน
ปกติ                 0 - 25 dB    ไม่มีความลำบากในการรับฟังเสียงพูด
หูตึงเล็กน้อย    26 - 40 dB    ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ
หูตึงปานกลาง  41 - 55 dB    เข้าใจคำพูดระดับความดังปกติในระยะ 3 -5 ฟุต
หูตึงมาก          56 - 70 dB    ต้องพูดเสียงดังจึงจะเข้าใจ และมีความลำบากในการรับฟังขณะอยู่ในที่จอแจ
หูตึงรุนแรง       71 - 90 dB    อาจได้ยินเสียงตะโกนในระยะ1ฟุต แต่ไม่เข้าใจ
หูหนวก             91+ ขึ้นไป    ไม่ได้ยินแม้ได้ยินเสียงดังมากๆ
 
                        40-60 dB     คือระดับเสียงคำพูดปกติ
 
การรักษาและการป้องกัน
- ยา
- ผ่าตัด
- ใส่เครื่องช่วยฟัง
- ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังหากทำงานสัมผัสเสียงดัง เช่น Ear Plug/ Ear muff
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานานๆ
** เมื่อใดที่ประสบปัญหาการได้ยิน เมื่อนั้นต้องประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน อย่าให้หูของเราต้องเสื่อมก่อนวัยอันควร ควรตรวจการได้ยินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง **

 


ข้อมูลจาก ศูนย์ ตา หู คอ จมูก รพ.วิภาวดี

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้