การปฏิบัติตัวในการรับยาเคมีบำบัด

วันที่ 31-08-2020 | อ่าน : 2556


ก่อนให้ยาเคมีบำบัด

  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่าน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
  • ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสไม่ท้อถอยต่อการรักษาและจำไว้เสมอว่าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อจบการรักษาแล้ว
  • รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงก่อนรับยาเคมีบำบัด
  • การรับประทานยาหรือสมุนไพรบางชนิดอาจมีผลกับยาเคมีบำบัดควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • การทำหัตถการในช่องปาก เช่น การอุดฟันถอนฟัน ขูดหินปูน ควรทำให้เสร็จก่อนมารับยาเคมีบำบัด 1-2 สัปดาห์เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดจะทำให้แผลหายช้าและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • สามารถออกกำลังกายได้แต่ควรปรับให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายทั้งก่อนและหลังให้ยาเคมีบำบัดไม่หักโหม เหมาะสมกับวัย เช่น การเดินช้าๆ รำมวยจีน เล่นโยคะ เป็นต้น
  • ยาเคมีบำบัดอาจมีผลต่อรังไข่ในเพศหญิง และการผลิตอสุจิในเพศชาย ทำให้มีลูกยากในผู้ป่วยที่ต้องการวางแผนมีลูกในอนาคตควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการเก็บไข่หรืออสุจิไว้ในธนาคาร
  • ในผู้ป่วยเพศหญิงควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ระหว่างการรักษาโดยใช้ถุงยางอนามัยคุมกำเนิดทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากยาเคมีบำบัดมีอันตรายต่อทารกในครรภ์
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดและสูบบุหรี่

ระหว่างให้ยาเคมีบำบัด

  • ถ้ารู้สึกมีไข้ไม่สบายควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนให้ยาเคมีบำบัดทุกครั้ง
  • ระวังไม่ให้ตำแหน่งที่แทงเข็มฉีดยาเปียกชื้น
  • ระวังไม่ให้สายน้ำเกลือมีการหัก พับ งอหรือดึงรั้ง
  • เมื่อมีอาการผิดปกติระหว่างให้ยา เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกใจสั่น หน้ามืด ตาพร่ามัว ปวดแสบบริเวณที่แทงเข็มให้รีบแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทันที
  • ยาเคมีบำบัดบางชนิดทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะไตวายได้ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วหรือประมาณ 2 ลิตรในวันที่ให้ยาเคมีบำบัดและหลังให้ยาเคมีบำบัด 1 วันเพื่อลดความเสี่ยง

หลังให้ยาเคมีบำบัด

     อาการข้างเคียงหลังให้ยาเคมีบำบัด มักเกิดขึ้นภายใน 7-14 วันแรกผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดที่มากหรือน้อยแตกต่างกันได้

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ
     อาการเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน อาจเกิดขึ้นหลังได้รับยา 2-3 ชั่วโมงดูหลังรับยาแล้วนานเป็นวันสามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้ดังนี้

  1. ปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารโดยรับประทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่บ่อยมื้อ
  2. รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายๆ เช่น โจ๊กข้าวต้มหรือเครื่องดื่มเย็นๆ เช่น น้ำผลไม้ หรือน้ำขิง
  3. หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นฉุน รสจัด อาหารมันอาหารทอด เพราะจะทำให้รู้สึกอยากอาเจียนมากขึ้น
  4. รับประทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียนตามที่แพทย์สั่ง
  5. ถ้ามีอาการอาเจียนมากกว่า 3 ครั้งต่อ 1 ชั่วโมง อาเจียนเป็นเลือดหรือน้ำดีผลออกมา หรืออาเจียนมากจะไม่สามารถทานอาหารได้มากกว่า 1 วันควรรีบมาพบแพทย์
  6. ควรพักผ่อนให้มากๆเพราะหลังได้รับยาผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย

     ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำมากเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 7-10 หลังให้ยาเคมีบำบัด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายหากมีไข้ หนาวสั่น เจ็บรอบๆทวารหนักผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์เพื่อฉีดยาปฏิชีวนะโดยด่วน ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ภาวะติดเชื้อสามารถป้องกันได้ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นไข้หวัดวัณโรคและงูสวัดเป็นต้น
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีผู้คนแออัดเช่น ตลาด โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า
  3. ระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลตามร่างกายและหลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมหากเกิดบาดแผลควรรีบทำความสะอาดและปิดด้วยผ้าพันแผล
  4. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่โดยเฉพาะโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วทุกชนิดเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง
  5. ควรเลือกทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาดหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือของหมักดอง เช่นแหนม ปลาร้า ก้อยส้มตำ ยำต่างๆ
  6. ควรมีปรอทวัดไข้ติดตัวไว้เมื่อสงสัยว่ามีไข้ควรวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อยืนยันอาการถ้าอุณหภูมิสูงมากกว่า 37.8 ถึง 38 องศาเซลเซียสให้รีบมาพบแพทย์ทันที

ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะโลหิตจาง ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลียมาก รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็วและหน้ามืดบ่อยควรรีบมาพบแพทย์และอาจจำเป็นต้องให้เลือด

ถ้ามีจุดเลือดจ้ำเลือดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟันเลือดกำเดาไหล มีจุดแดงเล็กๆที่ตาขาว ลำตัว แขนและขา ประจำเดือนมามากหรือเลือดออกแล้วหยุดไหลได้ช้าควรรีบมาพบแพทย์ทันทีเนื่องจากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำและจำเป็นต้องให้เลือด

ยาเคมีบำบัดอาจทำให้มีอาการเจ็บปากเจ็บคอ และปวดแสบร้อนช่องปากและเหงือกมีสีแดง เป็นมัน บวม ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้โดยอมน้ำแข็งหรือรับประทานของเย็นๆ เช่น ไอศครีม ดื่มน้ำมากๆอย่านอนวันละ 8-10 แก้ว และรับประทานอาหารอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แห้งแข็ง รสจัด ร้อนจัด น้ำอัดลมและการเคี้ยวหมากพลูเพราะจะทำให้ช่องปากมีการอักเสบและเจ็บมากขึ้น

ดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟัน หลังทานอาหารทุกมื้อด้วยแต่สีฟันขนอ่อนนุ่มและบนปากบ่อยๆด้วยน้ำเกลือหรือน้ำสะอาดหรือน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคและเหงือกอักเสบและไม่ควรใส่ฟันปลอมในช่วงการรักษารากฟันปลอมจะกดเหงือกทำให้เกิดแผลได้ง่ายและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้

ยาเคมีบำบัดบางชนิดอาจทำให้ผมร่วงได้ แต่ไม่ต้องวิตกกังวลเพราะเมื่อจบการรักษาแล้วผมจะงอกขึ้นมาใหม่เอง

  1. ควรตัดผมให้สั้นจะทำให้ดูแลง่ายและดูเหมือนมีผมหนากว่า
  2. เลือกใช้แชมพูอ่อนๆสระผม เช่น แชมพูเด็กถ้าจำเป็นต้องเป่าผมควรใช้ลมธรรมดา ไม่ใช้ลมร้อน
  3. ใช้แป้งขนนิ่มหรือหวีซี่ห่าง ๆ และอย่าหวีผมบ่อย
  4. หลีกเลี่ยงการดัดย้อมผมเพราะน้ำยาดัดผมหรือน้ำยาย้อมผมจะทำให้ระคายเคืองหนังศีรษะที่มีผมปกคลุมน้อย
  5. ใช้น้ำมันหรือโลชั่นสำหรับทาหนังศีรษะเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและช่วยลดอาการคันและแห้งของหนังศีรษะ
  6. อาจใช้วิกหรือผ้าคลุมผมเพื่อเสริมบุคลิกภาพ

ผิวหนังเล็บอาจจะมีอาการแห้งหยาบ มีสะเก็ด มีสีดำคล้ำ อาการนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อหยุดยาก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยควรทาครีมหรือโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นและตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เลี่ยงการถูกแสงแดดจ้า เช่น สวมเสื้อผ้าแขนยาว สวมหมวกหรือใช้ร่มป้องกันแสงแดดและทาครีมกันแดดเมื่อออกจากบ้าน ห้ามแกะ เกาผิวหนังเมื่อมีอาการคัน

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชาที่ปลายมือปลายเท้า อาการชานี้สามารถหายกลับเป็นปกติได้แต่มันต้องใช้เวลานานผู้ป่วยอาจนวดหรือออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการและปรึกษาแพทย์เพื่อรับวิตามินเสริม

ฝ่ามือฝ่าเท้าอาจมีสีแดงหรือดำคล้ำและเจ็บ อาการนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อหยุดยาก็จะหายไปเอง แต่อาจใช้เวลานาน ควรสวมถุงมือถุงเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของโดยตรงและใช้โลชั่นทาฝ่ามือ ฝ่าเท้า

อาการถ่ายเหลว เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางรายเมื่อมีอาการควรทานอาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัดดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำชาจีนเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยสูงเช่นผักผลไม้สดเพราะจะกระตุ้นให้ท้องเสียมากขึ้นถ้ามีอาการรุนแรงควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วนไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

อาการหูอื้อหรือการได้ยินลดลง อาจพบได้ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับยาซิสพลาติน

สำหรับเพศหญิงช่องคลอดมีอาการแห้ง ทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยากหรือเจ็บอาจใช้ครีมหล่อลื่นช่วย

ยาเคมีบำบัดมีผลต่อรังไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีประจำเดือนมาอีกเลย

ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจเป็นผลจากยาเคมีบำบัดควรหากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำเพื่อช่วยผ่อนคลายจิตใจเช่นฟังวิทยุอ่านหนังสือดูรายการโทรทัศน์ที่ชอบออกกำลังกายสม่ำเสมอควรเอาใจใส่และฟื้นกำลังกายอยู่เสมอ

 


ที่มา ศูนย์มะเร็งตรงเป้า - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้