ฉีดวัคซีน HPV สามารถป้องกันมะเร็งปากทวารหนักได้

วันที่ 22-04-2022 | อ่าน : 454


     วัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่คุ้นเคยกันดีในเรื่องการป้องกันมะเร็งปากมดลูก แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากจะสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แล้วยังสามารถป้องกันมะเร็งปากทวารหนัก หูดที่บริเวณอวัยวะเพศ มะเร็งคอ มะเร็งช่องปาก และมะเร็งปากช่องคลอดได้อีกด้วย
 

ทำความรู้จักมะเร็งปากทวารหนัก
     มะเร็งปากทวารหนัก หรือมะเร็งทวารหนัก คือการเกิดเซลล์มะเร็งบริเวณทวารหนัก ผู้ป่วยมักมีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวด หรือคันทวารหนัก ซึ่งมะเร็งปากทวารหนักในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่มีอาการ
 

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปากทวารหนัก
     สาเหตุหลักของโรคนี้มักเกิดจากการติดเชื้อ HPV โดยสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ การสูบบุหรี่ หรือโรคเอดส์ โดยสายพันธ์ HPV ที่พบบ่อยสำหรับมะเร็งปากทวารหนักคือ16 และ 18
ความเสี่ยงอื่นที่พบได้ คือ

  • มีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด หรือมะเร็งช่อคลอด
  • มีประวัติเป็นโรคที่เกี่ยวข้อกับภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์
  • มีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

 ไวรัส HPV
     HPV หรือ Human papilloma virus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยเชื้อไวรัสนี้สมารถเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่
9 – 45 ปี
 

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV สามารถป้องกันได้มากกว่ามะเร็งปากทวารหนัก
ผู้ที่ได้รับเชื้อ HPV นั้นอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ต่อไปนี้ได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งปากช่องคลอด
  • มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งปากวารหนัก
  • มะเร็งช่องปากและลำคอ
  • การเกิดรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous lesion) ของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งทวารหนัก
  • หูดหงอนไก่

วิธีป้องกันมะเร็งปากทวารหนัก

  • ลดการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนคู่นอนเป็นประจำ และความป้องกันทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพํนธ์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV
  • ตรวจสุขภาพทวารหนักเป็นประจำในผู้ทีมีความเสี่ยง

ใครบ้างที่ควรฉีด

  • สำหรับผู้ชายและผู้หญิง อายุ 9 - 45 ปี โดยฉีดทั้งหมด 3 เข็ม เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากวันที่ฉีดเข็มแรก 6 เดือน
  • การได้รับวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกและร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีจะทำให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะลดลงและได้ผลดีไม่เท่ากับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

 

ขอขอบคุณข้อมูล ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้