รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ บรรยายหัวข้อ“นวัตกรรมใหม่รักษาป้องกันมะเร็ง”

วันที่ 09-05-2025 | อ่าน : 12


รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ บรรยายในหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่รักษาป้องกันมะเร็ง”
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ในงานกิจกรรมสัมมนาในหัวข้อ “มะเร็งรู้ทัน ป้องกันเป็น รักษาได้” ซึ่งจัดโดย ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้เชิญวิทยากรพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ ขึ้นมาบรรยายในหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่รักษาป้องกันมะเร็ง” โดยบรรยากาศภายในงานเป็นการพูดคุยกันแบบสนุก ๆ มีความใกล้ชิด โดยผู้ร่วมฟังบรรยายต่างมีความสนใจในหัวข้อของ รศ.นพ.นรินทร์ เป็นอย่างมากเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ นวัตกรรมใหม่ ๆ และ การรักษามะเร็ง

หัวข้อในการบรรยายของ รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ มีดังนี้
สถิติแนวโน้มมะเร็งในปัจจุบัน
จากสถิติมะเร็งในประเทศไทยปี 2022 องค์การอนามันโลก (WHO) คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 77 ภายใน 25 ปีข้างหน้า และข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่าแต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน โดยพบใหม่มากสุดเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตามลำดับ 

มะเร็ง หรือ Cancer มาจากภาษากรีก Carcinos ซึ่งแปลว่า ปู ซึ่งคนแรกที่ใช้ศัพท์นี้ คือ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก 

มะเร็ง เป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกปลอมในร่างกายเรา เกิดจากตัวเรา ทำลายเรา ตายไปพร้อมเรา และพบเจอมากขึ้นเรื่อย ๆ คำจำกัดความจากสถาบันโรคมะเร็ง อธิบายไว้ว่า มะเร็งคือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ที่มีความผิดปกติของ DNA หรือ สารทางพันธุกรรม โดยเซลล์จะแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือ กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้นั่นเอง ส่วนไหนของร่างกายที่มีเซลล์ สามารถเป็นมะเร็งได้ทั้งหมด 

ทศลักษณ์แห่งมะเร็ง (Hallmark of Cancer)

  1. เจริญเติบโต แบ่งตัว อย่างไร้การควบคุม
  2. ลุกลาม แพร่กระจาย
  3. มีลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิด
  4. ดื้อต่อสารยับยั้งการสร้างเซลล์ใหม่
  5. เป็นอมตะไม่ยอมตาย
  6. เซลล์มะเร็งไม่ยอมแก่ลง
  7. สร้างเส้นเลือดใหม่ มาเลี้ยงมะเร็ง
  8. การสร้างพลังงานและเผาผลาญพลังงานผิดปกติ
  9. ยีนโนมของเซลล์มะเร็งไม่เสถียร
  10. หลีกเลี่ยง ยับยั้งเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
พันธุกรรม 

    มะเร็งสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ หรือก็คือ หากเรามีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง เราก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้นั่นเอง
พฤติกรรม
    การใข้ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทานอาหารปิ้งย่าง ความเครียด ไม่ดูแลตัวเอง ทั้งหมดล้วนก่อให้เกิดโรคมะเร็งทั้งสิ้น
เวรกรรม
    บางครั้งเราดูแลตัวเองอย่างดี แต่ก็ยังเป็นมะเร็ง ถือซะว่าเป็นเวรกรรมก็ย่อมได้ เพราะเราก็อาจจะไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็ง
 

การเกิดโรคมะเร็ง เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ กลายเป็นเซลล์ที่ไม่ดี ซึ่งในช่วงของการกลายพันธุ์นั้นเราไม่สามารถมองเห็นได้ กว่าที่เราจะรู้ตัวมะเร็งก็ก่อตัวจนแข็งแรงแล้ว ดังนั้นถ้าเราได้ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง และ เจอโรคมะเร็งในระยะแรกเริ่ม จะทำให้เรามีโอกาสในการรักษาที่มากขึ้น

นวัตกรรมในการรักษาในปัจจุบัน ที่จะเป็นความหวังใหม่ของผู้ป่วย
การตรวจหา DNA ของเซลล์มะเร็งในเลือด (circulating tumor DNA: ctDNA) ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว อย่างไรก็ตาม การตรวจวิธีนี้ยังมีข้อจำกัดด้านความคงที่ของผลตรวจ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
 

การักษามะเร็งในปัจจุบัน

  1. การผ่าตัด สำคัญที่สุด มะเร็งส่วนใหญ่ถ้าสามารถผ่าตัดออกได้หมด จะมีโอกาสที่โรคขะหายขาดมากที่สุด
  2. การฉายแสง 
  3. การรักษาด้วยยา เช่น เคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด ยาพุ่งเป้า ภูมิคุ้มกันบำบัด
  4. เซลล์บำบัด ยังมีข้อมูลไม่เยอะเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยา
  5. ยีนส์บำบัด

ขั้นตอนการประเมินและวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ในปัจจุบัน

  1. ตรวจสอบว่าเป็นมะเร็งจริง
  2. เป็นมากน้อยแค่ไหน 
  3. โรคมีความร้ายแรงเพียงใด เช่น การตรวจชิ้นเนื้อ
  4. ตรวจหาตัวบ่งชี้การตอบสนองต่อการรักษา
  5. ตรวจหาเป้าหมายเพื่อการรักษา
  6. สรุปแผนการรักษากับผู้ป่วยและทีมผู้เชี่ยวชาญ
  7. ติดตาม ประเมินผลการรักษาและผลข้างเคียง เช่น ตรวจเลือด, Pet- scan เพื่อดูว่าการรักษาที่ผ่านมาได้ผลหรือไม่

นพ นริทนร์ได้มีการพูดถึง สมุนไพรหลากหลายชนิด รวมถึง สมุนไพรจีน ที่เป็นรากเง้าของเคมีบำบัด เช่น ต้นพังพวยน้ำ สามารถมาทำยาเคมีบำบัดได้หลายชนิด 


 

มะเร็งป้องกันได้ออย่างไร?
รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิกล่าวว่า การป้องกันมีด้วยกัน 3 อย่าง

  • ป้องกันแบบปฐมภูมิ คือ การป้องกันเพื่อให้เกิดโรคมะเร็งสำหรับคนทั่วไป ที่ยังไม่เป็นมะเร็ง
  • ป้องกันแบบทุติยะภูมิ ระยะก่อนเป็นมะเร็ง เช่น มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ไปตรวจและพบความเสี่ยงเป็นมะเร็ง หรือถ้าปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นมะเร็ง การป้องกันช่วงนี้คือการป้องกันแบบทุติยะภูมิ
  • ป้องกันแบบตติยะภูมิ การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดมะเร็งชนิดเดิม หรือ ชนิดใหม่

นอกจากนั้นได้มีการแนะนำการป้องกันด้วยหลัก 6 อ. ประกอบไปด้วย

  1. อ.อาหาร ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานอาหารสูตร 2:1:1 หรือก็คือ 2 อาหารที่มาจากพืช  , 1 ผลไม้ที่ไม่หวาน , 1 โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน 
  2. อ.ออกกำลังกาย ผู้ป่วยมะเร็งควรออกกำลังหายตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
  3. อ.อากาศ เป็นส่วนที่สำคัญมาก การหายใจที่ดี่สุดอย่างหนึ่งคือการโยคะ มะเร็งไม่ชอบออกซิเจน การหายใจต้องใช้กล้ามเนื้อ ปอด กระบังลม ควรบริหารเพื่อให้การหายใจได้ดี เลือดไหลเวียนดี ภูมิคุ้นกันก็จะดีตาม
  4. อ.อุจจาระ รักษาสมดุลย์จุลชีพในลำไส้ ในลำไส้จะมีเชื้อแบคทีเรียที่ดี ถ้ามีเชื้อที่ดี โรคภัยไข้เจ็บจะน้อย ภูมิคุ้มกันดี ถ้าหากมีเชื้อไม่ดีจะเจ็บป่วยได้ง่าน แบคทีเรียในลำไส้ที่ดี เช่น แลคโตบาซิลลัส ในโยเกิร์ต 
  5. อ.เอนกาย (การนอนหลับพักผ่อน)
  6. อ.อารมณ์ ดนตรีบำบัด หรือหางานอดิเรกทำ เพื่อทำให้อารมณ์ดี

การบรรยายโดย รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ เป็นกิจกรรมที่ให้ทั้งความรู้ นวัตกรรมใหม่ๆ และ แนวทางการดูแลสุขภาพอย่างรอบด้านในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง บรรยากาศการบรรยายเป็นกันเองและมีชีวิตชีวา ผู้เข้าร่วมต่างให้ความสนใจ และ มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดการบรรยาย ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกท่านที่มีส่วนสำคัญในการทำให้การบรรยายในครั้งนี้เป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

ปรึกษามะเร็งฟรี

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง หรือ การให้กำลังใจแบบถูกวิธีแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผ่านช่องทางการติดต่อของเรา

Facebook Fanpage: ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
📞 เบอร์ติดต่อ: 087-678-6026

🌐 เว็บไซต์: https://www.siamca.com/

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้