อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก

วันที่ 25-05-2010 | อ่าน : 79547


อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
 

บทนำ

      มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับหนึ่งของสตรีไทย สาเหตุมักมาจากการติดเชื้อ Human papilloma virus หรือหูดหงอนไก่ ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นก็จะพัฒนาก่อการกลายพันธุ์ของเซลล์ให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งสตรีควรได้รับการตรวจเพื่อสืบค้นหามะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี เมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไป ซึ่งหากพบว่าเป็นในระยะเริ่มแรกก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการรักษาจะมีทั้งการผ่าตัด ฉายแสง และการฝังแร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา

     ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการผ่าตัด ฉายแสง รวมไปถึงเคมีบำบัดมักจะส่งผลให้การบริโภคอาหารเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการมากขึ้น ซึ่งหากเกิดอย่างต่อเนื่องและไม่ได้รับการดูแลรักษาแล้ว จะทำให้เกิดภาวะซีด เม็ดเลือดต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีผลต่อภาวะทางอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วย ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มมากขึ้น  การดำเนินของโรคแย่ลง อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ป่วย หากส่งเสริมโภชนาการที่ดีและถูกต้องจะทำให้อาการข้างเคียงจากการรักษาลดน้อยลง และช่วยยืดอายุของผู้ป่วยได้ยาวนานขึ้น รวมถึงป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกด้วย

การจัดอาหาร

ข้าวแป้ง
      ผู้ป่วยสามารถรับประทานข้าวแป้งได้ตามปกติ ควรได้รับคาร์โบไฮเดรต 55% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน โดยแบ่งรับประทานให้ครบทุกมื้อ อาจเน้นไปที่ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช ขนมปัง บางมื้อที่เบื่อรับประทานข้าวอาจเปลี่ยนเป็นขนมปัง โดยขนมปัง 1 แผ่นจะให้พลังงานเทียบเท่ากับข้าว 1 ทัพพี  หรืออาจเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยว หรือวุ้นเส้นก็สามารถเลือกทดแทนข้าวได้เช่นเดียวกัน

เนื้อสัตว์
      กลุ่มเนื้อสัตว์เป็นกลุ่มที่ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเนื้อสัตว์มักมีไขมันมากเกินไป และมักจะอยู่ในรูปของไขมันแฝง ควรจะเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป โดยใน 1 วัน ควรได้รับโปรตีนประมาณ 1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ผู้ป่วยหนัก 50 กิโลกรัมควรได้รับโปรตีน 75 กรัม ต่อวัน เป็นต้น
 กลุ่มเนื้อสัตว์ที่รับประทานได้ คือ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ ได้แก่ เนื้อปลา, สันในไก่, อกไก่ เป็นต้น
 กลุ่มเนื้อสัตว์ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ได้แก่ หมูบด, เนื้อสะโพก, ไส้กรอก เป็นต้น

ไขมัน
      ควรลดการบริโภคไขมันให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่คงไม่ถึงกับต้องงดรับประทานไขมันทุกชนิดไปเลย ควรได้รับไขมัน 15-20% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน งดเว้นน้ำมันทอดซ้ำเนื่องจากอาหารเหล่านี้จะมี Polyaromatic hydrocarbon (PAH) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและอนุมูลอิสระจำนวนมาก

ผลไม้
     ควรเลือกชนิดมีเส้นใยสูง เช่น พวกแอปเปิ้ล ฝรั่ง มะละกอ เป็นต้น และควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีสีสดเพื่อให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่พอเพียง แต่อาจพบได้ในบางกรณีที่รับประทานผลไม้แล้วเกิดอาการท้องอืด ถ่ายลำบาก ซึ่งหากผู้ป่วยรับประทานผลไม้แล้วรู้สึกเช่นนี้ แสดงว่าผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้ใยอาหารดูดซึมสารหล่อลื่นในลำไส้แทน ดังนั้นเมื่อรับประทานเส้นใยสูงก็ควรดื่มน้ำให้มากขึ้นด้วย

ผัก
      สามารถรับประทานผักเส้นใยสูงได้เกือบทุกชนิด โดยคนเราต้องการอาหารเส้นใยมากถึงวันละ 20 กรัม เส้นใยมีประโยชน์ในการไปจับกับสารก่อมะเร็ง carcinogen แล้วขับออกทางอุจจาระได้ ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืดร่วมด้วยอาจต้องลดการรับประทานผักลง

 

ขอรับเอกสารเพิ่มเติมอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้