ถั่วเหลืองกับคนไข้มะเร็ง

วันที่ 11-05-2022 | อ่าน : 1362


ถั่วเหลืองกับคนไข้มะเร็ง

ดร.กมล ไชยสิทธิ์


     ถั่วเหลือง เป็นแหล่งโปรตีนที่ครบถ้วนจากพืชตัวหนึ่ง ซึ่งถั่วเหลืองจัดเป็นธัญพืชที่พิเศษคือมีโปรตีนอยู่ในตัวเอง และมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนทุกชนิด แต่สัดส่วนอาจจะสู้กับเนื้อสัตว์ไม่ได้ ทำให้ถั่วเหลืองถูกนำมาแปรรูปเป็นโปรตีนจากพืชทดแทนโปรตีนจากสัตว์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และมีการพูดถึงสาร Isoflavone ในถั่วเหลืองต่อการต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งระบบทางเดินอาหาร พบว่าสารดังกล่าวส่งผลต่อการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งทางเดินอาหารได้

     แต่ก็ด้วย Isoflavone ยังมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อตัวรับฮอร์โมนเพศหญิง มีการกล่าวถึงการทานนมถั่วเหลืองเพื่อลดอาการวัยทอง แต่พบว่าปริมาณที่มีในน้ำนมถั่วเหลืองนั้นไม่มากนักต้องรับประทานทีละหลายแก้ว หรือรับประทานในรูปแบบเต้าหู้หรือโปรตีนถั่วเหลืองสกัดถึงจะทดแทนฮอร์โมนเพศได้ แต่กระนั้นก็ยังมีการกังวลในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีตัวรับฮอร์โมนเพศหญิง Estrogen positive มีความกังวลต่อนมถั่วเหลืองจะกระตุ้นมะเร็ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาข้อค้นพบว่ามีผลจริงหรือไม่ ก็พบว่าถั่วเหลืองในรูปแบบอาหารไม่ได้มีผลต่อการกระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิงที่เซลล์เต้านมให้เกิดมะเร็ง แต่ยังคงตั้งข้อสังเกตให้ระมัดระวังการได้รับถั่วเหลืองรูปแบบสกัดที่มีความเข้มข้นมากๆ เช่นโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง พวกนี้ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยยืนยันที่ชัดเจนและในผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนไทรอยต่ำก็อาจจะต้องจำกัดการรับประทานถั่วเหลือง เพราะอาจมีผลลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ด้วย

     สำหรับถั่วเหลืองในปัจจุบันมีข้อที่คนกังวลเรื่องของการตัดแต่งพันธุกรรม เพราะมีการพบว่าถั่วเหลืองมีการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) เพื่อให้ถั่วเหลืองทนต่อยาฆ่าแมลงมากขึ้น ทำให้เกิดได้รับผลผลิตที่ดีขึ้น ก็มีการกังวลถึงการอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งจากการได้รับอาหารตัดแต่งพันธุกรรม แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าสามารถรกระตุ้นมะเร็งได้ แต่ผู้บริโภคก็พยายามค้นหาแหล่งของถั่วเหลืองที่ไม่ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อรับประทาน ซึ่งก็สามารถทำได้และมีขายในท้องตลาดมากขึ้น

     ถั่วเหลืองไม่ได้มีเพียงแต่ข้อควรระวังข้อดีของเค้าเองก็มีอยู่ดังที่บอกเรื่องการมีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่ครบ และยังมีสาร phospholipid เป็นองค์ประกอบที่สามารถทำให้มีผลต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือด และมีผลต่อการช่วยการทำงานของสมอง แต่ยังคงต้องดูข้อมูลเรื่องปริมาณและรูปแบบในการบริโภคต่อไป

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้