7 วิธีดูแลปอดแบบง่าย ๆ เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย ?รังนก?

วันที่ 18-05-2022 | อ่าน : 603


     รังนก เป็นอาหารบำรุงร่างกายที่มีสารสำคัญอย่าง ‘NANA’ (นานะ) เป็นส่วนประกอบ มีประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงปอด ซึ่งถือเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการฟอกออกซิเจน ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ และมีบทบาทต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันที่มีทั้งปัญหาฝุ่นมลพิษและโรคระบาดโควิด-19 ทำให้คนยุคนี้ต้องหันมาใส่ใจดูแลตัวเองและ ‘สุขภาพปอด’ กันมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน

     ดังนั้น ทุกคนก็ไม่ควรละเลยการสร้างความแข็งแรงให้ ‘สุขภาพปอด’ จากภายในร่างกายของเราเอง เพราะปอดคืออวัยวะที่ทำงานสอดคล้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งการดูแลปอดแบบง่าย ๆ ให้ห่างไกลเชื้อโรค นอกจากการรับประทานสมุนไพรหรืออาหารบำรุงปอดให้แข็งแรงแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองในแต่ละวัน ยกตัวอย่างดังนี้

7 วิธีดูแลปอดให้แข็งแรง ห่างไกลเชื้อโรค เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย

1. รับประทานอาหารบำรุงปอด
     การดูแลปอดทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งการดื่มรังนกแท้ที่มี NANA (นานะ หรือ N-Acetyl-Neuraminic Acid) ก็นับเป็นหนึ่งใน อาหารบำรุงปอด ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากนานะเป็นโปรตีนที่พบในรังนกแท้ มีคุณสมบัติพิเศษทำงานเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารสำคัญในรังนกสามารถยับยั้งไม่ให้ไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ เพราะมีกลไกในการขัดขวางการจับตัวระหว่างเชื้อไวรัสกับเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยตรง

     นักวิจัยจึงค้นพบว่ารังนกที่มีปริมาณนานะสูง ก็จะมีความสามารถในการต้านไวรัสดีขึ้นตามไปด้วย สอดคล้องกับการพบว่าไกลโคโปรตีนในรังนกทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวน จึงนับได้ว่ารังนกมีส่วนช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และอาจเป็นสารสำคัญในการต้านไวรัสได้นั่นเอง

2. ออกกำลังกายบริหารปอด
     หลายคนอาจนิยมออกกำลังกายโดยเน้นการสร้างกล้ามเนื้อ แต่จริง ๆ แล้ว การออกกำลังกายแบบ ‘คาร์ดิโอ’ (Cardio Exercise) เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดก็จะทำให้ปอดแข็งแรงมากขึ้นตามไปด้วย และสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การหายใจของเราดีขึ้น โดยการออกกำลังกายเสริมสุขภาพปอดให้แข็งแรง ควรเคลื่อนไหวขยับร่างกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที เช่น วิ่ง เดินเร็ว เดินยกขาสูง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น

3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายปอด
     ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ห่างไกลจากปัจจัยที่ทำลายปอด หรือส่งผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทานโดยตรง โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพปอดเรื้อรังมากกว่าคนที่ไม่สูบ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคปอดบวม โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ฯลฯ รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงในโรคติดเชื้อในปอด เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้กลไกป้องกันการติดเชื้อของปอดลดลง รวมไปถึงควรหลีกเลี่ยงการสูดดมกลิ่นควันรถยนต์และมลภาวะ ซึ่งเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย หากสูดดมเป็นระยะเวลานาน อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอดได้

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
     ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-64 ปี ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้อวัยวะสำคัญได้ทำงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนอนหลับเกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คนที่อดนอนหรือนอนดึกติดต่อกันเป็นเวลานาน มักมีปัญหาด้านสุขภาพและสภาพจิตใจ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคลดลง เจ็บป่วยได้ง่าย รู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวัน และอาจเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจได้อีกด้วย

5. ดื่มน้ำให้ปอดชุ่มชื้น
     การดื่มน้ำเปล่าสะอาดถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ต่อร่างกาย มีส่วนช่วยเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เราจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือประมาณวันละ 6-8 แก้ว เนื่องจากน้ำจะช่วยบำรุงปอดให้ชุ่มชื้น ทำให้ปอดไม่แห้ง เพราะหากปอดแห้งจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในปอด เมื่อปอดขาดน้ำและมีอุณหภูมิสูง ก็มักทำให้ปอดติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้ภูมิต้านทานตก มีอาการหิวน้ำ ไอแห้ง ๆ มีไข้ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจในเวลาต่อมาได้เช่นกัน

6. รักษาปอดให้อบอุ่นอยู่เสมอ
     หากอยู่ในสถานที่มีอากาศหนาวเย็น ควรสวมเสื้อผ้าหนา ๆ หรือห่มผ้าให้มิดชิด เพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ปอดอยู่เสมอ เนื่องจากเมื่ออากาศแห้งและเย็นจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ปอดของเราระคายเคือง อาจส่งผลให้เกิดอาการไอ หายใจหอบ เหนื่อยง่าย บางครั้งอาจมีเสียงหวีดขณะหายใจ หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจเป็นปวดบวม ปอดชื้น และปอดติดเชื้อ จนมีอาการทางระบบหายใจที่รุนแรงมากขึ้น การทำให้ปอดอบอุ่นอยู่เสมอจึงถือเป็นวิธีดูแลปอดให้แข็งแรงที่เราไม่ควรมองข้าม

7. หายใจเข้า-ออกแบบลึก ๆ
     กระบวนการหายใจจำเป็นต้องพึ่งพาปอดเป็นหลัก เนื่องจากเมื่อเราหายใจเข้า จะนำออกซิเจนเข้าไปในปอดและเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเราหายใจออก ปอดก็จะเป็นการนำคาร์บอนไดออกไซด์ขับออกจากร่างกาย โดยเราสามารถช่วยดูแลปอดให้แข็งแรงได้ในทุกวัน ผ่านการฝึกหายใจเข้า-ออกแบบลึก ๆ อย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง เพื่อบริหารปอด กระบังลม และกล้ามเนื้อทรวงอก เนื่องจากการสูดลมหายใจเข้า-ออกลึก ๆ จะทำให้ปอดได้ขยายตัวอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เราหายใจได้สะดวกขึ้นนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูล hellokhunmor.com

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้