โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

วันที่ 18-08-2023 | อ่าน : 770


โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

     อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอเหมาะสมก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม

     ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไอเดรต ไขมันและน้ำ อย่างเพียงพอ  สำหรับผู้ป่วยมะเร็งผลข้างเคียงของอาการรักษาอาจจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง

     ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาการเหล่านั้นคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกแสบปาก กลืนลำบาก และเจ็บปากเมื่อกลืนอาหาร ยารักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหารลง

     สิ่งเหล่านำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภุมิต้านทานลดลงและติดเชื้อง่าย ไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้

ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากเสียชีวิตจากการขาดอาหาร มากกว่าการลุกลามของโรค

ทำไมผู้ป่วยมะเร็งจึงขาดสารอาหาร

  1. ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์มะเร็งจะสร้างสารเคมีบางอย่างมำให้เผาผลาญอาหารได้โดยเร็ว
  2. รับประทานอาหารได้น้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากจะเบื่ออาหาร เมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุทำให้ขาดสารอาหารได้ง่ายขึ้น ทำอย่างไรจะทำให้รับ ประทานอาหารได้มากขึ้นได้
  3. ไม่รับประทานอาหารบางชนิด  ปัญหาการที่ไม่รับประทานอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงต่อโรคมะเร็ง ยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร

     ผู้ป่วยที่รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดมักมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นบางช่วง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ควรระวังความสะอาดของอาหาร ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร และการหยิบอาหารสดบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลาดิบ ไข่สด ต้องล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหาร ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด อาหารที่ปรุงสุกแล้วเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การรับประทานอาหารนอกบ้านควรดูแลความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น สลัดผัก อาหารยำ น้ำแข็ง น้ำดื่มไม่สะอาด อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถกินอาหารได้พอสมควร ควรกินตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย ดังนี้

  1. กินอาหารในครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย หมั่นดูแลน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในมาตรฐาน ไม่ผอมเกินไป
  2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เลือกรับประทาน ข้าวกล้อง+ข้าวไร้เบอรี่+ข้าวแดง จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า
  3. กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำกินให้หลากสี ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักโขม บล็อคโคลี่ จะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้
  4. การกินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ เป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรกินบ่อย การกินไข่ถ้าไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงรับประทานได้วันละ1ฟอง แต่ถ้าเป็นไขมันในเลือดสูงควรกินเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดการรับประทานเนื้อแดง และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการเติมสารกันบูด เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม เพราะมีการวิจัยพบว่ามีส่วนกระตุ้นเซลล์มะเร็ง
  5. การดื่มนมเพื่อบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยควรดื่มนมสดหรือนมพร่องมันเนยวันละ1-2แก้ว
  6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร เช่น กินอาหารทอด ผัก แต่พอควร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันทอดซ้ำ อาหารปิ้ง ย่าง(ไม่ดำไหม้เกรียม) เลือกอาหารประเภทต้มนึ่ง แกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด
  7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารหวานจัด เค็มจัด เพราะถ้ากินหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน กินเค็มจะเสี่ยงเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง
  8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เพราะอาหารที่ไม่ปรุงสุก และปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมีต่างๆ เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สีย้อมผ้า สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาหฆ่าแมลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และเป็นผลเสียต่อโรคมะเร็ง
  9. งดหรือลด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มีส่วนทำให้เกิดโรคร้ายมากมาย

**ในผู้ป่วยมะเร็งมีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารตามอาการที่ปรากฎ

  1. เบื่ออาหาร เลือกอาหารที่ผู้ป่วยพอรับประทานได้ กลิ่น รสไม่จัด เช่นขนมปังกรอบ กินเป็นอาหารว่าง กินทีละน้อย แต่กินบ่อย
  2. คลื่นไส้ ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด เลี่ยงอาหารที่มันเยิ้ม มีกลิ่นฉุน รับประทานอาหารแห้งประเภทแครกเกอร์ ขนมปังกรอบ อาหารที่เสิร์ฟไม่ปรุงรส ให้มีรสหวานตามธรรมชาติ ไม่ใส่เครื่องเทศ
  3. อาเจียน จัดอาหารเหลวใสทุก 10-15 นาที หลังจากอาเจียน เช่น น้ำซุปใส น้ำหวาน น้ำผลไม้ ยกหัวให้สูงเพื่อเอนหลัง หรือการใช้ยาลดการอาเจียน
  4. อิ่มเร็ว ให้เครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นดื่มระหว่างมื้อ เช่น เสริมนมทางการแพทย์ เลี่ยงการกิน อาหารมันๆ  ของทอด  เนื่องจากย่อยยาก กินอาหารเป็นมื้อเล็กๆหลายมื้อ
  5. การรับรสเปลี่ยน กลั้วคอหรือลิ้นก่อนรับประทานอาหาร ใช้น้ำมะนาวช่วย เมื่อลิ้นขม บางครั้งอาจจะทานเป็นอาหาร
  6. ปากแห้ง รับประทานอาหารอ่อนที่มีน้ำมาก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยวน้ำ อมลูกอม ไอศครีม รับประทานอาหารหวานจัด จิบน้ำบ่อยๆ
  7. มีแผลในช่องปาก เจ็บปากและลิ้น ไม่รับประทานอาหารที่เป็นกรดหรือเปรี้ยว เครื่องเทศ เผ็ดร้อน อาหารเค็ม อาหารหยาบแข็ง ระวังเลือดออกในช่องปาก ให้อาหารที่เคี้ยวกลืนง่าย ได้แก่ ข้าวต้ม โจ๊กผสมผัก กล้วยสุก แตงโม วุ้น พุดดิ้ง ไข่ลวก  ข้าวโอ๊ต เสิร์ฟอาหารต้องไม่ร้อนหรืออุณหภูมิห้อง
  8. ท้องเสีย แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอ เสริมเครื่องดื่มเกลือแร่ งดการดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมประมาณ1สัปดาห์ หรือจนกว่าหยุดถ่าย งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลม
  9. ท้องผูก แนะนำให้รับประทานใยอาหาร 25-35กรัมต่อวัน เช่น กินผัก ผลไม้ ธัญพืชเมล็ดมากๆ ดื่มน้ำ8-10แก้ว หรือน้ำลูกพรุน น้ำผลไม้อุ่นๆ เดินและออกกำลังกาย หรือปรึกษาแพทย์ อาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ถั่วแดง ธัญพืชไม่ขัดสี ซีเรียล ข้าวโพด ผักสด ผลไม้ หน่อไม้ฝรั่ง คื่นช่าย ถั่วลันเตา มะเขือ
  10. อาหารสุกสะอาด ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวต่ำมาจากหลายสาเหตุ เช่น การฉายแสง เคมีบำบัด และจากตัวโรค ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกทันที เก็บรักษาอุณหภูมิเหมาะสม ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกสะอาด ระวังเชื้อราจากผลไม้ ล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่เชื้อ
  11. น้ำลายเหนียว ทำให้ฟันผุง่าย ให้อาหารที่มีน้ำปกติ เครื่องดื่มที่มีกรดซิตริก น้ำผลไม้ปั่น เลี่ยงการรับประทานขนมปัง นม เจลาติน แอลกอฮอล์ ดูแลสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ
  12. น้ำหนักลด เพิ่มแคลอรี่และโปรตีนในอาหาร รับประทานไขมันดีต่อสุขภาพ เพิ่มอาหารทางการแพทย์
  13. อ่อนเพลีย ให้อาหารอ่อนๆ เคี้ยวน้อยที่สุด พักผ่อนให้เพียงพอ หรือให้อาหารทางสายให้อาหาร


ขอขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลวิภาวดี

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้